วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การใช้กล้องจุลทรรศน์

ใบความรู้ที่ 1
เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์
1.      Stage  :  วางวัตถุหรือสไลด์ที่ต้องการศึกษา  
2.      Illuminator  :  แหล่งกำเนิดแสงส่องผ่านวัตถุ
3.      Coarse adjustment  :  ปรับระยะภาพ
4.      Eyepiece  :  ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น  
5.      Specimen holder  :  ยึดสไลด์ให้ติดกับที่วางวัตถุ    
6.      Revolving nosepiece  :  ใช้จับเปลี่ยนกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ
7.      Objective lens  :  รับภาพและขยายภาพจากวัตถุที่นำมาศึกษา ส่งผ่านไปยังเลนส์ใกล้ตา   
8.      Fine adjustment  :  ปรับความคมชัดของภาพ  
9.       Arm  :  ยึดระหว่างลำกล้องและฐาน 
10.  Diaphragm  :  ทำหน้าที่ปรับปริมาณแสงให้พอเหมาะ         
การใช้และการเก็บรักษากล้องจุลทรรศน์    
วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์
1.             การถือกล้อง โดยใช้มือหนึ่งจับแขนกล้อง อีกมือหนึ่งรองรับที่ฐาน ต้องยกกล้องในสภาพที่กล้องตั้งตรงเสมอ เพื่อป้องกันส่วนประกอบของกล้องเลื่อนหลุด เช่น เลนส์ใกล้ตา
2.             นำกล้องมาวางไว้บนโต๊ะให้ห่างจากขอบโต๊ะเล็กน้อย
3.             ตั้งลำกล้องให้ตรง โดยที่เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายต่ำสุดอยู่ตรงกับแนวลำกล้อง แล้วเปิดไฟ
4.             นำสไลด์ที่เตรียมไว้วางบนแท่นวางวัตถุ ให้วัตถุอยู่ตรงบริเวณที่แสงผ่าน
5.             ปรับเลนส์ตาทั้งสองให้ระยะห่างพอดีกับช่วงตาของผู้ศึกษา แล้วเริ่มปรับหาระยะภาพที่กำลังขยายต่ำสุดโดยใช้ปุ่มปรับภาพหยาบ ถ้าแสงสว่างเกินไปให้ลดความสว่างโดยใช้ไดอะแฟรม
6.             เมื่อเจอภาพแล้วต้องการปรับความคมชัด ก็ให้ใช้ปุ่มปรับภาพละเอียด
7.             เมื่อต้องการขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น ควรหมุนเปลี่ยนกำลังขยายเลนส์ใกล้วัตถุโดยใช้จานหมุน จากนั้นให้ปรับความคมชัดภาพด้วยปุ่มปรับภาพละเอียด
ข้อควรระวัง
1.             ระวังอย่าให้เลนส์ใกล้วัตถุสัมผัสกับกระจกปิดสไลด์
2.             เมื่อปรับกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุสูงกว่า x10 แล้วต้องการปรับความคมชัดของภาพ ให้ใช้เฉพาะปุ่มปรับภาพละเอียดเท่านั้น
3.             ห้ามใช้เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยาย x100 หากไม่ได้หยดน้ำมันลงบนสไลด์ และขาดความชำนาญ
วิธีเก็บกล้องจุลทรรศน์
1.             หลังจากใช้กล้องจุลทรรศน์เสร็จแล้วตรวจดูความเรียบร้อยของส่วนต่างๆเสียก่อน
2.             ใช้ผ้านุ่มทำความสะอาดกล้องเฉพาะส่วนที่เป็นโลหะ และใช้กระดาษเช็คเลนส์ทำความสะอาด
3.             หมุนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายต่ำสุดให้อยู่ตรงกับตัวกล้อง แล้วเลื่อนแท่นวางวัตถุลงมาต่ำสุด
คำถาม
1.             เลนส์ที่ใช้ในกล้องจุลทรรศน์มีกี่ชนิด อะไรบ้าง
2.             ไดอะแฟรมทำหน้าที่อะไร
3.             จงบอกความแตกต่างของปุ่มปรับภาพหยาบและปุ่มปรับภาพละเอียด
งานที่ต้องบันทึก
1.             ถ่ายรูปกล้องจุลทรรศน์พร้อมชี้ส่วนประกอบ
2.             วาดภาพอักษร “ ง ”  ที่มองเห็นผ่านกล้องจุลทรรศน์ที่กำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุเท่ากับ x10 พร้อมบอกลักษณะภาพ
3.             ภาพถ่ายวัตถุที่มองเห็นจากกล้องจุลทรรศน์ พร้อมบอกกำลังขยาย
4.             ตอบคำถามด้านบนลงในรายงานผลการทดลอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น