การเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ และเทคนิคปลอดเชื้อ
วัสดุอุปกรณ์
1. บีกเกอร์ขนาด 600 ml 7. หม้อนึ่งความดันไอ
2. น้ำกลั่น 500 ml 8. Hot plate
3. Dextose 10 g 9. ตะเกียงแอลกอฮอล์
4. ผงวุ้น 7.5 g *** 10. แอลกอฮอล์ 70% ***
5. Dettol (น้ำนาฆ่าเชื้อ) *** 11. จานเพาะเชื้อ
6. ผ้าสะอาดเช็ดโต๊ะ ***
#หมายเหตุ : แต่ละกลุ่มเตรียมอุปกรณ์มาเฉพาะที่ *** ไว้
วิธีการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ
1. เตรียมน้ำต้มมันฝรั่ง (มันฝรั่ง 100 g ต่อน้ำกลั่น 500 ml) 500 ml
2. เตรียมน้ำกลั่น 500 ml แล้วนำไปต้มให้อุ่นๆ จากนั้นเติม Dextose 10 g คนให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
3. เติมผงวุ้น 7.5 g ลงในสารละลายในข้อ 2 คนให้เข้ากัน จากนั้นนำสารละลายในข้อ 1 มาผสมและคนให้เข้ากัน
4. นำสารละลายในข้อ 3 หรื PDA ไปฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันไอ ที่ระดับอุณหภูมิ 121 C ระดับความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว เป็นเวลา 30 นาที
# หมายเหตุ : ในการทดลองในครั้งนี้ไม่ได้ทำการทดลองในข้อ 1 และ 4 แต่จะสาธิตให้ดูในเบื้องต้น
การเตรียมอุปกรณ์และพื้นที่ปลอดเชื้อ
1. นำอุปกรณ์เครื่องแก้วทุกชนิดที่จะใช้ในการปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา อันได้แก่ แท่งแก้ว บีกเกอร์ และจานเพาะเชื้อ หรือ หลอดทดลอง มาล้างทำความสะอาด
2. นำอุปกรณ์จากข้อ 1 มาฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันไอที่ระดับอุณหภูมิ 121 C ระดับความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว เป็นเวลา 30 นาที
** ขั้นตอนในข้อ 1 – 2 เตรียมการก่อนการทดลอง
3. เช็ดโต๊ะปฏิบัติการที่จะทำการเทอาหารเลี้ยงเชื้อด้วยสารละลาย Dettol (ความเข้มข้น 1:1)
4. จุดตะเกียงแอลกอฮอล์ในบริเวณที่จะปฏิบัติการ และในขณะปฏิบัติการต้องมีไฟติดอยู่ตลอดเวลา และทำการทดลองใกล้ๆ พื้นที่ของตะเกียงแอลกอฮอล์
การเทอาหารเลี้ยงเชื้อ
1. นำจานเพาะเชื้อและอาหารเลี้ยงเชื้อมาวางในพื้นที่ปลอดเชื้อที่เตรียมไว้
2. เปิดจานเพาะเชื้อให้กว้างพอประมาณใกล้ๆ ตะเกียงแอลกอฮอล์
3. เทอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผ่านการฆ่าเชื้อลงในจานเพาะเชื้อ ขณะที่อาหารยังอุ่นๆอยู่ให้มีปริมาตรประมาณ 1/3 ของจานเพาะเชื้อ และรีบปิดฝาอย่างรวดเร็ว
แนวทางการปฏิบัติการในการปฏิบัติงานทางจุลชีววิทยา
1. ต้องไม่นำวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการมาวางบนโต๊ะปฏิบัติการ
2. ต้องทำความสะอาดโต๊ะปฏิบัติการ และเช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ (Dettol) ทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการ
3. ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ และเช็ดมือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ (Alcohol 70%) ก่อนและหลังปฏิบัติการทุกครั้ง
4. ควรปฏิบัติการในที่ที่ไม่มีลมพัด ป้องกันเชื้อ
5. การทิ้งเศษอาหารที่เป็นวุ้น ควรใส่ในถุงพลาสติก แล้วนำไปทิ้งถังขยะ
6. อุปกรณ์ที่ใช้ในปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาต้องผ่านการฆ่าเชื้อทั้งก่อนและหลังการใช้งานเสมอ
ภาระงาน
1. ถ่ายภาพการปฏิบัติการด้วยกล้องถ่ายรูปทุกขั้นตอน
2. บันทึกผลการทดลองเป็นภาพถ่ายขั้นตอนการปฏิบัติการต่างๆ
3. เขียนปฏิบัติการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานหม้อนึ่งความดันไอ
4. สรุปผลและอภิปรายผลให้เขียน Flow chart ขั้นตอนการเตรียมอาหาร, การเตรียมพื้นที่ปลอดเชื้อ และ การเทอาหารเลี้ยงเชื้อ
(Report นี้ 20 คะแนน)